วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีให้ความเร็ว

เทคโนโลยีให้ความเร็ว

เทคโนโลยีให้ความเร็ว

1. ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Lineคือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์ ADSL เป็นเทคโนโลยีในตระกูล xDSL โดยมีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล(Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆเทคโนโลยี ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ ซึ่งจะแบ่งย่านความที่บนคู่สายทองแดง ออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงความถี่โทรศัพท์ (POTS) ช่วงความถี่ของการส่งข้อมูล (Upstream) ช่วงความถี่ในการรับข้อมูล(Downstream) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูล และใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน

เทคโนโลยี ADSL พัฒนาให้ใช้ TCP/IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้บนเครือข่าย Internet และพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี ATM ทำให้ ADSL สามารถรองรับ Application ในด้าน Multimedia ได้เป็นอย่างดี2.  SDSL( Symmetric Digital Subscriber Line )

เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงเหมือนกับ ADSL แต่ต่างกันที่ความเร็วในการรับ-ส่งเท่ากัน ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย อย่างไรก็ตาม การใช้งานเทคโนโลยีนี้จะไม่สามารถใช้งานเสียงพร้อม ๆ ไปกับการรับส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน เนื่องจากจุดเชื่อมต่อของสายโทรศัพท์ถูกใช้งานเต็มที่พร้อมกันนั่นเองSDSL (Single-Line Digital Subscriber Line) นี้จะคล้ายกับ VDSL แต่จะมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญสองประการคือ - SDSL จำกัดระยะทางที่ไม่เกิน 10,000 ฟุต - SDSL ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว เทคโนโลยี SDSL ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี (หรือมากกว่านี้) จึงจะสามารถนำมาเป็นมาตรฐานได้โดยแต่ละเทคโนโลยีมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
Symmetric Digital Subscriber Line (SDSL)มีกำเนิดมาจาก HDSL แต่ได้พัฒนาให้ใช้กับสายโทรศัพท์เพียงคู่เดียว โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ในระดับ T1/E1 หรือ 1.544/2.048Mbps ทั้งด้านรับและส่ง ในทางทฤษฎี HDSLซึ่งแยกวงจรรับและส่งออกจากกันไปอยู่คนละคู่สายโทรศัพท์ จะสามารถทำงานได้ที่ความถี่ต่ำกว่า SDSL ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานที่ระยะทางไกลกว่าด้วย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ระยะทางที่ใช้งานได้ต่างกันไม่มาก การใช้สายโทรศัพท์เพียงคู่เดียวทำให้ SDSL สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายเคเบิลลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง

3.  HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line

เป็นเทคโนโลยีระบบที่มีจำนวนบิตในอัตราสูง ซึ่งกระจายอัตราการรับส่งข้อมูลใน 2 ทิศทาง HDSL เป็นเทคโนโลยีรุ่นบุกเบิกของ DSL เพราะเคยใช้รับส่งข้อมูลแบบ T1 เหนือเกลียวคู่สัญญาณ โดยปราศจากอุปกรณ์เสริมอื่นใดที่ใช้สำหรับติดตั้งวงจร T1 เช่น นำแถบเชื่อมออก (the removal of bridged taps) และการติดตั้งรีพีทเตอร์ (the installation of repeaters) HDSL ใช้ 2 คู่สายเคเบิลไกลถึง 12000 ฟุต ขณะที่ HDSL-2 ใช้คู่สายเคเบิลเดียว และรองรับระยะไกลได้ถึง 18000 ฟุต HDSL ไม่สามารถใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์ระบบอนาลอกได้HDSL ข้อดี : เร็ว และเป็นทางสำรองสำหรับระบบสายถาวร ข้อเสีย : ราคาแพง ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงได้ HDSL (High Data Rate Digital Subscriber Line) เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนา DSL ซึ่งหลักการนั้นก็ง่ายมากคือ แทนที่จะใช้สายทอง- แดงเพียงคู่เดียวอย่างใน ADSL ก็เพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 คู่ หากระยะทางระหว่างผู้ให้บริการถึงผู้ใช้นั้นไกลกันมากก็อาจจะต้องใช้ถึง 3 คู่ ด้วยวิธีนี้ทำให้ HDSL สามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 4 MBit/s ทั้งการดาวน์โหลดและอัพโหลดพร้อมๆ กัน ข้อดีที่เห็นได้ชัดของ HDSL คือผู้ให้บริการสามารถใช้เครือข่ายสายทองแดงที่มีอยู่แล้วต่อไปได้เลย แต่ข้อเสียของมันก็อยู่ที่ความยุ่งยากในการแก้ไขสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น

4.  VDSL ย่อมาจาก Very High Speed Digital Subscriber Line

ความหมายเดียวกัน เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎีโดยพื้นที่ให้บริการห่างจากตู้ชุมสายไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร จึงจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด หากระยะห่างออกไป ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะแปรผันลดลงตามระยะทางดังกล่าว

จุดเด่นของ VDSL ที่เหนือเทคโนโลยีอื่น ๆ
         
 - อัตราการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 15 Mbps
          - รองรับระยะทางได้สูงสุดถึง 1.5 km
          - สนับสนุน IEEE 802.1x (Authentication) ความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบ
          - สนับสนุนการจัดเก็บเงิน และระบบ Property management system (PMS) สามารถออกบิลเรียกเก็บค่าใช้บริการ สนับสนุน IEEE 802.1p และ IEEE 802.1q ในการให้บริการ QQS (Quality of Service) เป็นการจัดการ ลำดับความสำคัญของงานและลำดับความสำคัญของผู้ใช้บริการ
          - สนับสนุน IGMP snooping ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Entertainment on demand (EOD)
          - สนับสนุน VLAN เพิ่มประสิทธิ์ภาพและความปลอดภัยของระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น