หลักการด้านอีคอมเมิร์ซ | |||||
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซคือ การค้าขายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตของทุกคน อินเตอร์เนต จะเปลี่ยนวิธีการศึกษาหาความรู้ อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการทำมาค้าขาย อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการหาความสุขสนุกสนาน อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมกันเข้ามาหาอินเตอร์เนต กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าโฮมเพจในอินเตอร์เนตบริษัทห้างร้านนั้นก็ไม่มีตัวตน นั่นคือไม่มีใครรู้จัก เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครทำมาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครทำมาค้าขายด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องล้มหายตายจากไป ว่ากันว่าอินเตอร์เนตคือแหล่งข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายผู้ผลิต ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการที่จะซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่นการเข้าไปเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ มีการเข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซื้อ หากจะกล่าวว่า “ข่าวสาร” คืออำนาจ ในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคก็ได้รับการติดอาวุธอย่างใหม่ที่มีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้าได้ผลดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาและพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้ประมาณรายได้ของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (B-to-B) ว่าเพิ่มขึ้นจาก 80 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,200 พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2542 เป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 40 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2546 | |||||
คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซ | |||||
คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซนั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่างๆ กันอันเนื่องมาจากมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถ้าถามอาจารย์สามคนว่าอีคอมเมิร์ซคืออะไร ก็คงได้คำตอบสี่คำตอบ คือแต่ละคนให้คำตอบคนละคำตอบ แล้วเมื่อมาประชุมปรึกษาหารือกันก็ตกลงกันเป็นอีกคำตอบหนึ่ง ถ้าถามนักอินเตอร์เนตหรือที่เรียกกันว่าอินเตอร์นอต (Internaut แบบเดียวกับ Asternaut) ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต ถ้าถามนักสื่อสารก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการใช้ระบบสื่อสารในการส่งโฆษณา สินค้าและบริการไปให้ลูกค้า การใช้ระบบสื่อสาร โดยลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและการจ่ายเงิน ถ้าถามผู้ให้บริการก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการให้บริการให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ให้บริการผู้ซื้อได้ดูโฆษณาเลือกหาสินค้า และให้บริการเจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า ถ้าถามนักเทคโนโลยี ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขาย สรุปอย่างง่ายๆ โดยสังเขปก็อาจจะได้ความว่า อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ | |||||
(1) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เนต (2) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เนต (3) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น (4) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น (5) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ (6) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ (7) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย้ | |||||
ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป | |||||
การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย | |||||
ประเภทของอีคอมเมิร์ซ | |||||
มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น | |||||
อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้ | |||||
(1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้ | |||||
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้ ้ | |||||
(1)อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เนตได้โดยสะดวก (2)อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น (3)อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้ - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ - การจัดการสินค้าคงคลัง - การจัดส่งสินค้า - การจัดการช่องทางขายสินค้า - การจัดการด้านการเงิน | |||||
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้ | |||||
(1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท (2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (3)อินเตอร์เนตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง (4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น | |||||
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ | |||||
(1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต (2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์ | |||||
แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ | |||||
(1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน |
วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
E-commerce
คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
โปรโตคอล ( Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน
IP Address คือชุดตัวลขที่อ้างถึงโฮสต์ คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต ที่ประกอบด้วยชุดอักษร 4 ชุด ที่ขั้นด้วย จุด ดังนั้นบางเครื่องอาจเรียกเป็น dot addressing โดยจะมีไบนารี 32 บิต(4octet)เช่น 202.214.115.12 ถ้าคุณใช้อินเตอร์เน็ตแบบ PPP คุณจะพบว่าโฮสต์ ของคุณนั้นจะกำหนด ไอพีแอดเดรส ให้คุณอัตโนมัติ แต่ถ้าคุณใช้ระบบ แลน ไอพีแอดเดรสนั้นจะถูกกำหนดตายตัว
Domain Name โดเมนเนมแสดงถึงการเป็นเจ้าของหรือการจัดระบบเน็ตเวิร์คในอินเตอร์เน็ต มักจะมีรูปแบบเป็น ชื่อโดเมน.ชนิดของโดเมน เช่น microsoft.com (.com-องค์กรการค้า,.edu-องค์กรการศึกษาฯลฯ)ซึ่งลักษณะนี้เป็นการกำหนดโดเมนเนมในอเมริกา หากเป็นประเทศอื่นๆ จะมีตัวอักษรสองตัวแทนชื่อประเทศต่อท้ายเช่นksc.net.th(net-ผู้ให้บริการด้านเน็ตเวิร์ค,.th-รหัสประเทศไทย)
Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก เรียกย่อว่า “ เว็บ “ ( Web ) ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า แต่ละหน้าเรียกว่า “เว็บเพจ” ( Web Page ) แหล่งเก็บเว็บเพจ
เว็บเพจ (Web Page) คือ เอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแบบสื่อประสม เช่น ข้อความ,ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว,เสียง เป็นต้น โดยการนำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
Home Page โฮมเพจหมายถึง เอกสารในwwwหน้าแรกของไซด์ที่คุณเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ที่มีชื่อว่า index.html หรือ default.asp
Bandwidth แบนด์วิธจะเป็นการแสดงว่าในช่วงเวลาหนึ่งมีการขนย้านข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด มักจะมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาทั(bps) หรือ กิโลบิตต่อวินาที(kbps)
HTML(Hypertext Markup Language) เป็นเครื่องมือในการสร้าไฟล์เท็ก(ข้อความ)ที่มีการเชื่อมต่อกันสำหรับใช้กับบราวเซอร์บนwww โดยมีลักษณะเป็นช้อความธรรมดาที่ล้อมค้วยวงเล็บ< >เช่น <b>tunjai</b> เป็นคำสั่งที่บอกให้บราวเซอร์แสดงผลตัว tunjai ตัวเข้มหรือตัวหนา
URL(The Uniform Resource Locators )เป็นเสมือนที่อยู่ของเอกสารบนเว็บ ทุกๆ เอกสารจะต้องมี URL เป็นของตัวเอง แต่ละส่วนของ URL เป็นสิ่งที่ใช้ระบบข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของเอกสาร
ISP (Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่คุณอาจต้องเสียค่าบริการเป็นรายเดือน หรือเป็ช่วงเวลาในการใช้งาน หรือเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
Hypertext แนวคิดในการเชื่อมโยงไฟล์เอกสาร (เช่น เว็บเพจ) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยผู้อ่านสามารถเลือกจุดที่กำหนดไว้ (ซึ่งเรียกว่า hypertext link, hyperlink หรือ link) เพื่อเปิดไปยังเอกสารปลายทางที่กำหนดไว้ได้
การประยุกต์ใช้งาน ด้านต่างๆ
การประยุกต์ใช้งาน ด้านต่างๆ
1. ด้านการศึกษา
- ด้านการศึกษานั้นได้นำเอามัลติมีเดียไปพัฒนาใช้และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเครื่องมือช่วยสอนต่างๆ มากมาย และเกิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในรูปแบบต่างๆ
- สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา โดยเป็นเครื่องมือช่วยรวบรวม วิเคราะห์ ออกแบบ สร้าง จัดการ ใช้งานและประเมินผล
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ลักษณะมัลติมีเดีย
- เผยแพร่การเรียนบนเว็บ เช่น e-Learning เป็นต้น
- เกิดการเรียนรู้ทางไกล
- ด้านการศึกษานั้นได้นำเอามัลติมีเดียไปพัฒนาใช้และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเครื่องมือช่วยสอนต่างๆ มากมาย และเกิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในรูปแบบต่างๆ
- สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา โดยเป็นเครื่องมือช่วยรวบรวม วิเคราะห์ ออกแบบ สร้าง จัดการ ใช้งานและประเมินผล
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ลักษณะมัลติมีเดีย
- เผยแพร่การเรียนบนเว็บ เช่น e-Learning เป็นต้น
- เกิดการเรียนรู้ทางไกล
2. ด้านการฝึกอบรม
- มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยสอน เรียกว่า e-Training มีส่วนช่วยให้พัฒนาศักยภาพทางบุคลากรเป็นอย่างมาก
- ปัจจุบัน มีการพัฒนาเว็บสำหรับอบรมของสถาบันฝึกอบรมหลายแห่ง เช่น สถาบันพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา http://www.guruonline.in.th
- มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยสอน เรียกว่า e-Training มีส่วนช่วยให้พัฒนาศักยภาพทางบุคลากรเป็นอย่างมาก
- ปัจจุบัน มีการพัฒนาเว็บสำหรับอบรมของสถาบันฝึกอบรมหลายแห่ง เช่น สถาบันพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา http://www.guruonline.in.th
3. ด้านความบันเทิง
- มัลติมีเดียได้รับความแพร่หลายในวงการบันเทิงเป็นอย่างมาก เช่นภาพยนต์ คาราโอเกะ เกมส์ ข่าว ละคร เป็นต้น
- เว็บไซต์ทีวี
- เกมส์ออนไลน์
- มัลติมีเดียได้รับความแพร่หลายในวงการบันเทิงเป็นอย่างมาก เช่นภาพยนต์ คาราโอเกะ เกมส์ ข่าว ละคร เป็นต้น
- เว็บไซต์ทีวี
- เกมส์ออนไลน์
4. ด้านธุรกิจ มีความสะดวกเป็นอย่างมาก ในการ
- นำเสนองาน นำเสนอสินค้า
- ประชุมทางไกล ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- นำเสนองาน นำเสนอสินค้า
- ประชุมทางไกล ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ด้านการประชาสัมพันธ์ มัลติมีเดียได้เป็นปัจจัยหลักสำคัญ ในการ
- นำเสนอ และเผยแพร่ข่าวสาร
- การโฆษณาและการถ่ายทอด
- ตู้ประชาสัมพันธ์
- นำเสนอ และเผยแพร่ข่าวสาร
- การโฆษณาและการถ่ายทอด
- ตู้ประชาสัมพันธ์
6. ด้านความเป็นจริงเสมือน
- ความจริงเสมือนเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของวงการเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สามารถเลียนแบบการเรียนรู้ และสัมผัสผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงเสมือน
- ความจริงเสมือนเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของวงการเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สามารถเลียนแบบการเรียนรู้ และสัมผัสผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงเสมือน
7. ด้านโมบายเทคโนโลยี ได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น
- เทคโนโลยีมัลติมีเดียในโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปแบบการใช้โมบายเทคโนโลยี
M-Billing M-Commerce M-Banking M-Entertainment M-Messaging
- เทคโนโลยีมัลติมีเดียในโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปแบบการใช้โมบายเทคโนโลยี
M-Billing M-Commerce M-Banking M-Entertainment M-Messaging
มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย
มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย
1.มาตรฐาน IEEE 802.15
มาตรฐาน IEEE 802.15 (IEEE 802.15 Working Group) สำหรับเครื่องข่ายไร้สายส่วนบุคคล หรือดับเบิลยูแพน (WPAN) ซึ่งมีการประชุมกันในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน เครือข่ายไร้สายส่วนบุคคลนี้ หมายถึงเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสำหรับการสื่อสารระยะสั้น ตัวอย่างเช่น การซิงค์ข้อมูลระหว่างเครื่องพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรือการเชื่อมต่อทีวีกับเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของเคเบิลทีวี เทคโนโลยีที่ได้รับเลือกจะได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “802.15.3a” ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้มหาศาลระดับ 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท) ในปี 2007 ตามการรายงานของซีเน็ตโดยอ้างถึงประมาณการณ์ของบริษัทเอบีไอ (Allied Business Intelligence; ABI) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีความชัดเจนในตัว “802.15.3a” แต่ที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วก็คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยกองทัพสหรัฐฯชื่อ “อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ “ยูดับเบิลยูบี” (Ultra Wideband; UWB) ซึ่ง 95% ของข้อเสนอที่ยื่นเข้ามาเลือกใช้เทคนิคนี้ ตามคำกล่าวของ เบน แมนนี (Ben Manny) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย บริษัทอินเทล ผู้ให้การสนับสนุนเทคโนโลยีอัลตร้าไวด์แบนด์กล่าวว่า มันถูกกว่าและกินพลังงานน้อยกว่าบลูทูธ ทั้งยังมีความเร็วสูงกว่าบลูทูธประมาณ 100 เท่า ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย บลูทูธ (Bluetooth) คือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล และเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและพีดีเอชั้นนำทั่วโลก
มาตรฐาน IEEE 802.15 (IEEE 802.15 Working Group) สำหรับเครื่องข่ายไร้สายส่วนบุคคล หรือดับเบิลยูแพน (WPAN) ซึ่งมีการประชุมกันในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน เครือข่ายไร้สายส่วนบุคคลนี้ หมายถึงเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสำหรับการสื่อสารระยะสั้น ตัวอย่างเช่น การซิงค์ข้อมูลระหว่างเครื่องพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรือการเชื่อมต่อทีวีกับเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของเคเบิลทีวี เทคโนโลยีที่ได้รับเลือกจะได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “802.15.3a” ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้มหาศาลระดับ 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท) ในปี 2007 ตามการรายงานของซีเน็ตโดยอ้างถึงประมาณการณ์ของบริษัทเอบีไอ (Allied Business Intelligence; ABI) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีความชัดเจนในตัว “802.15.3a” แต่ที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วก็คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยกองทัพสหรัฐฯชื่อ “อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ “ยูดับเบิลยูบี” (Ultra Wideband; UWB) ซึ่ง 95% ของข้อเสนอที่ยื่นเข้ามาเลือกใช้เทคนิคนี้ ตามคำกล่าวของ เบน แมนนี (Ben Manny) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย บริษัทอินเทล ผู้ให้การสนับสนุนเทคโนโลยีอัลตร้าไวด์แบนด์กล่าวว่า มันถูกกว่าและกินพลังงานน้อยกว่าบลูทูธ ทั้งยังมีความเร็วสูงกว่าบลูทูธประมาณ 100 เท่า ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย บลูทูธ (Bluetooth) คือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล และเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและพีดีเอชั้นนำทั่วโลก
2. IEEE 802.11b
เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานในแบบสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและเตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุนการใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi ซึ่งกำหนดขึ้นโดย WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE 802.11b ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันกับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้
ความหมายของ ISP
ความหมายของ ISP
ISP มาจากคำว่า Internet Service Provider ความหมายว่า ”ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต” ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น
2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย
โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
1. LAN Card คือ Card ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เท่ากับ VGA Card หรือ Sound Card สำหรับ Lan Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ต้องการ เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mpbs เป็นต้น
2. Lan Cable คือสายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์ ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTB, STB ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำ ไปใช้ เช่น ติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน เป็นต้น
3. HUB คืออุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ หรือข้อมูล โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports เป็นต้น
ที่มา http://school.net.th/
สายนำสัญญาน
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น2ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
1.2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส
2. โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
3. วอยซ์เมล์ (Voice Mail)
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
4. การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
5. การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
6. กรุ๊ปแวร์(groupware)เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
7. การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
8. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
9. การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส
2. โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
3. วอยซ์เมล์ (Voice Mail)
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
4. การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
5. การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
6. กรุ๊ปแวร์(groupware)เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
7. การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
8. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
9. การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ชนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ชนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่าย ส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN)PANPAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้
เครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน
เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
เทคโนโลยีให้ความเร็ว
เทคโนโลยีให้ความเร็ว
เทคโนโลยีให้ความเร็ว
1. ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Lineคือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์ ADSL เป็นเทคโนโลยีในตระกูล xDSL โดยมีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล(Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆเทคโนโลยี ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ ซึ่งจะแบ่งย่านความที่บนคู่สายทองแดง ออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงความถี่โทรศัพท์ (POTS) ช่วงความถี่ของการส่งข้อมูล (Upstream) ช่วงความถี่ในการรับข้อมูล(Downstream) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูล และใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน
เทคโนโลยี ADSL พัฒนาให้ใช้ TCP/IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้บนเครือข่าย Internet และพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี ATM ทำให้ ADSL สามารถรองรับ Application ในด้าน Multimedia ได้เป็นอย่างดี2. SDSL( Symmetric Digital Subscriber Line )
เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงเหมือนกับ ADSL แต่ต่างกันที่ความเร็วในการรับ-ส่งเท่ากัน ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย อย่างไรก็ตาม การใช้งานเทคโนโลยีนี้จะไม่สามารถใช้งานเสียงพร้อม ๆ ไปกับการรับส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน เนื่องจากจุดเชื่อมต่อของสายโทรศัพท์ถูกใช้งานเต็มที่พร้อมกันนั่นเองSDSL (Single-Line Digital Subscriber Line) นี้จะคล้ายกับ VDSL แต่จะมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญสองประการคือ - SDSL จำกัดระยะทางที่ไม่เกิน 10,000 ฟุต - SDSL ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว เทคโนโลยี SDSL ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี (หรือมากกว่านี้) จึงจะสามารถนำมาเป็นมาตรฐานได้โดยแต่ละเทคโนโลยีมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
Symmetric Digital Subscriber Line (SDSL)มีกำเนิดมาจาก HDSL แต่ได้พัฒนาให้ใช้กับสายโทรศัพท์เพียงคู่เดียว โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ในระดับ T1/E1 หรือ 1.544/2.048Mbps ทั้งด้านรับและส่ง ในทางทฤษฎี HDSLซึ่งแยกวงจรรับและส่งออกจากกันไปอยู่คนละคู่สายโทรศัพท์ จะสามารถทำงานได้ที่ความถี่ต่ำกว่า SDSL ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานที่ระยะทางไกลกว่าด้วย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ระยะทางที่ใช้งานได้ต่างกันไม่มาก การใช้สายโทรศัพท์เพียงคู่เดียวทำให้ SDSL สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายเคเบิลลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง
3. HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line
Symmetric Digital Subscriber Line (SDSL)มีกำเนิดมาจาก HDSL แต่ได้พัฒนาให้ใช้กับสายโทรศัพท์เพียงคู่เดียว โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ในระดับ T1/E1 หรือ 1.544/2.048Mbps ทั้งด้านรับและส่ง ในทางทฤษฎี HDSLซึ่งแยกวงจรรับและส่งออกจากกันไปอยู่คนละคู่สายโทรศัพท์ จะสามารถทำงานได้ที่ความถี่ต่ำกว่า SDSL ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานที่ระยะทางไกลกว่าด้วย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ระยะทางที่ใช้งานได้ต่างกันไม่มาก การใช้สายโทรศัพท์เพียงคู่เดียวทำให้ SDSL สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายเคเบิลลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง
3. HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line
เป็นเทคโนโลยีระบบที่มีจำนวนบิตในอัตราสูง ซึ่งกระจายอัตราการรับส่งข้อมูลใน 2 ทิศทาง HDSL เป็นเทคโนโลยีรุ่นบุกเบิกของ DSL เพราะเคยใช้รับส่งข้อมูลแบบ T1 เหนือเกลียวคู่สัญญาณ โดยปราศจากอุปกรณ์เสริมอื่นใดที่ใช้สำหรับติดตั้งวงจร T1 เช่น นำแถบเชื่อมออก (the removal of bridged taps) และการติดตั้งรีพีทเตอร์ (the installation of repeaters) HDSL ใช้ 2 คู่สายเคเบิลไกลถึง 12000 ฟุต ขณะที่ HDSL-2 ใช้คู่สายเคเบิลเดียว และรองรับระยะไกลได้ถึง 18000 ฟุต HDSL ไม่สามารถใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์ระบบอนาลอกได้HDSL ข้อดี : เร็ว และเป็นทางสำรองสำหรับระบบสายถาวร ข้อเสีย : ราคาแพง ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงได้ HDSL (High Data Rate Digital Subscriber Line) เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนา DSL ซึ่งหลักการนั้นก็ง่ายมากคือ แทนที่จะใช้สายทอง- แดงเพียงคู่เดียวอย่างใน ADSL ก็เพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 คู่ หากระยะทางระหว่างผู้ให้บริการถึงผู้ใช้นั้นไกลกันมากก็อาจจะต้องใช้ถึง 3 คู่ ด้วยวิธีนี้ทำให้ HDSL สามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 4 MBit/s ทั้งการดาวน์โหลดและอัพโหลดพร้อมๆ กัน ข้อดีที่เห็นได้ชัดของ HDSL คือผู้ให้บริการสามารถใช้เครือข่ายสายทองแดงที่มีอยู่แล้วต่อไปได้เลย แต่ข้อเสียของมันก็อยู่ที่ความยุ่งยากในการแก้ไขสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น
4. VDSL ย่อมาจาก Very High Speed Digital Subscriber Line
ความหมายเดียวกัน เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎีโดยพื้นที่ให้บริการห่างจากตู้ชุมสายไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร จึงจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด หากระยะห่างออกไป ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะแปรผันลดลงตามระยะทางดังกล่าว
จุดเด่นของ VDSL ที่เหนือเทคโนโลยีอื่น ๆ
- อัตราการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 15 Mbps
- รองรับระยะทางได้สูงสุดถึง 1.5 km
- สนับสนุน IEEE 802.1x (Authentication) ความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบ
- สนับสนุนการจัดเก็บเงิน และระบบ Property management system (PMS) สามารถออกบิลเรียกเก็บค่าใช้บริการ สนับสนุน IEEE 802.1p และ IEEE 802.1q ในการให้บริการ QQS (Quality of Service) เป็นการจัดการ ลำดับความสำคัญของงานและลำดับความสำคัญของผู้ใช้บริการ
- สนับสนุน IGMP snooping ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Entertainment on demand (EOD)
- สนับสนุน VLAN เพิ่มประสิทธิ์ภาพและความปลอดภัยของระบบ
- อัตราการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 15 Mbps
- รองรับระยะทางได้สูงสุดถึง 1.5 km
- สนับสนุน IEEE 802.1x (Authentication) ความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบ
- สนับสนุนการจัดเก็บเงิน และระบบ Property management system (PMS) สามารถออกบิลเรียกเก็บค่าใช้บริการ สนับสนุน IEEE 802.1p และ IEEE 802.1q ในการให้บริการ QQS (Quality of Service) เป็นการจัดการ ลำดับความสำคัญของงานและลำดับความสำคัญของผู้ใช้บริการ
- สนับสนุน IGMP snooping ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Entertainment on demand (EOD)
- สนับสนุน VLAN เพิ่มประสิทธิ์ภาพและความปลอดภัยของระบบ
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management Programs) ได้แก่ Microsoft Office
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานเฉพาะอย่าง (Special-Purpose Application Software) งานด้านระบบบัญชีธุรกิจทั่วไป (General Accounting Software) ด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ (Analysis and Decision Marking) เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการด้านฮาร์ดแวร์และอำนวยความสะดวกในการใฃ้งานของผู้ใช้งาน มี 3 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการกับระบบ (System Management Programs)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสนับสนุนระบบ (System Support Programs)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ (System Development Programs)
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
Word Processing - สำหรับการพิมพ์งานต่าง ๆ
Spreadsheet - ใช้ในการคำนวณ และลักษณะตาราง
File manages and database management system – ชุดโปรแกรมในการจัดการแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการประมวลผลข้อมูลรายการ (Transaction Processing) - งานทางด้านธุรกิจ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ(Analysis and decision making) - สนับสนุนการตัดสินใจ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวางแผนและการจัดการตารางงาน (Planning,coordinating,scheduling and
organizing) - ด้านการวางแผน จัดการตาราง เช่น แผนงบประมาณ แผนการเงิน
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการผลิตรายงาน (Reporting) - สร้างรายงานประเภทต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการตรวจคำผิดของตัวอักษร (Writing) - ตัวตรวจสอบ แสดงข้อความ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการ Presentation - การนำเสนองานในรูปต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการติดต่อสื่อสาร (Communicating) - การส่งผ่านข้อมูลถึงกัน หรือเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการสอนและฝึกอบรม (Training) - ทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ระบบปฏิบัติการ (The Operating System) คือ โปรแกรมหลักที่ใช้ในการจัดการคำสั่งทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่หลักดังนี้
จัดการเกี่ยวกับไฟล์
จัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ Input/Output
จัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำ
จัดการเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
จัดการเกี่ยวกับลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำงานของผู้ใช้
องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ (Components of the Operating System)
Supervisor - เป็นส่วนในการควบคุมกิจกรรมทุกอย่างที่ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ทำ
Command-Language Translator - เป็นตัวเปลี่ยนความต้องการของผู้ใช้ให้เป็นการทำงานของ Operating System
Input/Output Control System (IOCS) - เกี่ยวโยงกับระบบฮาร์ดแวร์
Librarian - เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่จัดการกับข้อมูล โปรแกรม พื้นที่ว่างในแฟ้มข้อมูล
ระบบปฏิบัติการสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating Systems)
MS-DOS - เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันในระยะแรก เป็นลักษณะคำสั่งโดยอักษร
Macintosh System - ใช้รูปภาพเป็นสื่อ (GUI: Graphic User Interface) เป็นระบบปฏิบัติการเฉพาะ
OS/2 - หรือ Operating System 2 ใช้รูปภาพเป็นสื่อ แต่เป็น OS ที่มีขนาดใหญ่และใช้หน่วยความจำมาก
Windows - เป็นระบบ GUI นิยมใช้ในปัจจุบัน สนับสนุนการใช้งานของผู้ใช้งานได้มากและสะดวก
UNIX - เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานในเครื่องหลายแบบ ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
Operating Systems for Pen-Based Computers - เป็นการเปลี่ยนลายเส้นอักษรของผู้ใช้โดยปากกาเฉพาะ
ระบบปฏิบัติการสำหรับข่ายงาน (Network Operating Systems)
เป็นการเชื่อมโยงเครื่องแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย หรือ LAN (Local Area Network) ลักษณะการใช้งานคือ
ใช้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สื่อสารถึงกันได้
ใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ปฏิบัติงานบางอย่างร่วมกันได้
ใช้อุปกรณ์ และทรัพยากรอื่น ๆ ร่วมกันได้
ระบบเครือข่ายจะต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
มีแผ่นวงจรข่ายงาน (Network Interface Card)
มีระบบปฏิบัติการข่ายงาน (Network Operating System)
มีการจัดเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องและเหมาะสม
ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องขนาดใหญ่ (Operating Systems for Larger Systems)
ลักษณะโดยทั่วไปที่จะต้องพบในระบบปฏิบัติการดังกล่าว
Interleaving Techniques - การจัดการเกี่ยวกับการทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน เช่น
Multiprogramming - เป็นขบวนการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานพร้อมกันมากกว่า 1 งาน หรือผู้ใช้งานมากกว่า 1 คนเข้าใช้คอมพิวเตอร์
Multitasking - ความสามารถในการทำงานหลายอย่างของผู้ใช้คนเดียวในเวลาเดียวกัน
Time-Sharing - เป็นเทคนิคที่ CPU จัดสรรเวลาให้กับผู้ใช้หลายคนที่ปริมาณที่เท่าเทียมกัน
Foreground/Background Processing - เป็นการแบ่งหน่วยความจำหลักออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า Partition ให้หลายโปรแกรมเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำพร้อมๆ กันได้
Virtual Memory - เป็นระบบการทำงานที่ใช้หน่วยความจำสำรองทำหน้าที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลแทนหน่วยความจำหลัก
Multiprocessing - การทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน โดยมี CPU ตั้งแต่ 2 ตัวเชื่อมโยงการทำงาน
ซอฟต์แวร์ระบบอื่น ๆ
ตัวแปลภาษา (Language Translator) ทำหน้าที่แปลภาษาโปรแกรมที่เขียนขึ้น ให้เป็นภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เครื่องเข้าใจ และทำงานได้
Compilers - เป็นตัวแปลงโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่โปรแกรมนั้นจะ
ทำงานต่อ
Interpreters - เป็นการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องในลักษณะที่แปลโปรแกรมในแต่ละบรรทัดและทำงานทันที
Assemblers - ก่อนที่เครื่องจะใช้งานภาษาแอสเซมบลีได้ จะต้องแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องก่อน ที่เรียกว่า Assemblers
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการช่วยงานต่าง ๆ เช่น การเตรียมแผ่นดิสก์เพื่อใช้งาน การสำเนาแฟ้มข้อมูล
โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Languages)
เป็นภาษาที่เขียนเพื่อทำให้เครื่องทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
วิวัฒนาการและระดับของภาษาคอมพิวเตอร์
ยุคที่ 1 – 2 ภาษาเครื่อง และภาษาระดับต่ำ (Low-Level Languages) ผู้เขียนต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
Machine Language เป็นภาษาในยุคแรก เป็นรหัสเลขฐาน 2 สั่งให้เครื่องทำงานทันที
Assembly Language เป็นภาษาที่ง่ายขึ้นกว่ายุคแรก จะเป็นอักษรย่อในการเขียนคำสั่ง
ยุคที่ 3 ภาษาระดับสูง (High-Level Languages) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ซึ่งภาษาระดับต่ำและระดับสูง จะต้องมีตัวแปลภาษา (Translator) ช่วยในการแปลภาษา เช่น Assemble Cobol BASIC Pascal
ยุคที่ 4 ภาษาระดับสูงมาก (Very-High-Level Languages) เป็นภาษาโปรแกรมที่เข้าใจง่ายและใช้คำสั่งสั้น
เช่น RPG (Report Program Generator) , 4GL (Forth – Generation Language)
ยุคที่ 5 ภาษายุคที่ 5 (Fifth Generation of Programming Language) มีลักษณะคือ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Export Systems) ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลความรู้และประสบการณ์ของผู้เชียวชาญ
ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) ใช้ภาษามนุษย์ในการติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีปัญหาทางด้านการประมวลผลคำ และคำสั่งอยู่
ภาษาเชิงวัตถุ (Object- Oriented Languages) เป็นการปฏิบัติการด้านความคิดเป็นการเปลี่ยนวิธีการพิจารณาการทำงานของมนุษย์จากเดิมที่เน้นด้านกระบวนการ ไปเน้นที่ตัววัตถุที่ถูกดำเนินการแทน
ภาษาสำหรับประมวลผลแบบขนาน (Paralleled Processing Languages) ประกอบด้วยงานย่อย ๆ ซึ่งสามารถทำงานบนหน่วยประมวลผลกลาง ได้พร้อมกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)