วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์

   ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management Programs) ได้แก่ Microsoft Office
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานเฉพาะอย่าง (Special-Purpose Application Software) งานด้านระบบบัญชีธุรกิจทั่วไป (General Accounting Software) ด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ (Analysis and Decision Marking) เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการด้านฮาร์ดแวร์และอำนวยความสะดวกในการใฃ้งานของผู้ใช้งาน มี 3 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการกับระบบ (System Management Programs)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสนับสนุนระบบ (System Support Programs)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ (System Development Programs)
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทต่าง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
Word Processing - สำหรับการพิมพ์งานต่าง ๆ
Spreadsheet - ใช้ในการคำนวณ และลักษณะตาราง
File manages and database management system – ชุดโปรแกรมในการจัดการแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการประมวลผลข้อมูลรายการ (Transaction Processing) - งานทางด้านธุรกิจ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ(Analysis and decision making) - สนับสนุนการตัดสินใจ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวางแผนและการจัดการตารางงาน (Planning,coordinating,scheduling and
organizing) - ด้านการวางแผน จัดการตาราง เช่น แผนงบประมาณ แผนการเงิน
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการผลิตรายงาน (Reporting) - สร้างรายงานประเภทต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการตรวจคำผิดของตัวอักษร (Writing) - ตัวตรวจสอบ แสดงข้อความ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการ Presentation - การนำเสนองานในรูปต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการติดต่อสื่อสาร (Communicating) - การส่งผ่านข้อมูลถึงกัน หรือเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการสอนและฝึกอบรม (Training) - ทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ระบบปฏิบัติการ (The Operating System) คือ โปรแกรมหลักที่ใช้ในการจัดการคำสั่งทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่หลักดังนี้
จัดการเกี่ยวกับไฟล์
จัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ Input/Output
จัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำ
จัดการเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
จัดการเกี่ยวกับลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำงานของผู้ใช้
องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ (Components of the Operating System)
Supervisor - เป็นส่วนในการควบคุมกิจกรรมทุกอย่างที่ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ทำ
Command-Language Translator - เป็นตัวเปลี่ยนความต้องการของผู้ใช้ให้เป็นการทำงานของ Operating System
Input/Output Control System (IOCS) - เกี่ยวโยงกับระบบฮาร์ดแวร์
Librarian - เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่จัดการกับข้อมูล โปรแกรม พื้นที่ว่างในแฟ้มข้อมูล
ระบบปฏิบัติการสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating Systems)
MS-DOS - เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันในระยะแรก เป็นลักษณะคำสั่งโดยอักษร
Macintosh System - ใช้รูปภาพเป็นสื่อ (GUI: Graphic User Interface) เป็นระบบปฏิบัติการเฉพาะ  
OS/2 - หรือ Operating System 2 ใช้รูปภาพเป็นสื่อ แต่เป็น OS ที่มีขนาดใหญ่และใช้หน่วยความจำมาก
Windows - เป็นระบบ GUI นิยมใช้ในปัจจุบัน สนับสนุนการใช้งานของผู้ใช้งานได้มากและสะดวก
UNIX - เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานในเครื่องหลายแบบ ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
Operating Systems for Pen-Based Computers - เป็นการเปลี่ยนลายเส้นอักษรของผู้ใช้โดยปากกาเฉพาะ
ระบบปฏิบัติการสำหรับข่ายงาน (Network Operating Systems)
เป็นการเชื่อมโยงเครื่องแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย หรือ LAN (Local Area Network) ลักษณะการใช้งานคือ
ใช้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สื่อสารถึงกันได้
ใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ปฏิบัติงานบางอย่างร่วมกันได้
ใช้อุปกรณ์ และทรัพยากรอื่น ๆ ร่วมกันได้
ระบบเครือข่ายจะต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
มีแผ่นวงจรข่ายงาน (Network Interface Card)
มีระบบปฏิบัติการข่ายงาน (Network Operating System)
มีการจัดเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องและเหมาะสม
ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องขนาดใหญ่ (Operating Systems for Larger Systems)
               ลักษณะโดยทั่วไปที่จะต้องพบในระบบปฏิบัติการดังกล่าว
Interleaving Techniques - การจัดการเกี่ยวกับการทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน เช่น
Multiprogramming - เป็นขบวนการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานพร้อมกันมากกว่า 1 งาน หรือผู้ใช้งานมากกว่า 1 คนเข้าใช้คอมพิวเตอร์
Multitasking - ความสามารถในการทำงานหลายอย่างของผู้ใช้คนเดียวในเวลาเดียวกัน
Time-Sharing - เป็นเทคนิคที่ CPU จัดสรรเวลาให้กับผู้ใช้หลายคนที่ปริมาณที่เท่าเทียมกัน
Foreground/Background Processing - เป็นการแบ่งหน่วยความจำหลักออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า Partition ให้หลายโปรแกรมเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำพร้อมๆ กันได้
Virtual Memory - เป็นระบบการทำงานที่ใช้หน่วยความจำสำรองทำหน้าที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลแทนหน่วยความจำหลัก
Multiprocessing - การทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน โดยมี CPU ตั้งแต่ 2 ตัวเชื่อมโยงการทำงาน
ซอฟต์แวร์ระบบอื่น
               ตัวแปลภาษา (Language Translator) ทำหน้าที่แปลภาษาโปรแกรมที่เขียนขึ้น ให้เป็นภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เครื่องเข้าใจ และทำงานได้
Compilers - เป็นตัวแปลงโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่โปรแกรมนั้นจะ
ทำงานต่อ
Interpreters - เป็นการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องในลักษณะที่แปลโปรแกรมในแต่ละบรรทัดและทำงานทันที
Assemblers - ก่อนที่เครื่องจะใช้งานภาษาแอสเซมบลีได้ จะต้องแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องก่อน ที่เรียกว่า Assemblers
               โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการช่วยงานต่าง ๆ เช่น การเตรียมแผ่นดิสก์เพื่อใช้งาน การสำเนาแฟ้มข้อมูล
โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Languages)
               เป็นภาษาที่เขียนเพื่อทำให้เครื่องทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
วิวัฒนาการและระดับของภาษาคอมพิวเตอร์
               ยุคที่ 1 – 2 ภาษาเครื่อง และภาษาระดับต่ำ (Low-Level Languages) ผู้เขียนต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
Machine Language เป็นภาษาในยุคแรก เป็นรหัสเลขฐาน 2 สั่งให้เครื่องทำงานทันที
Assembly Language เป็นภาษาที่ง่ายขึ้นกว่ายุคแรก จะเป็นอักษรย่อในการเขียนคำสั่ง
               ยุคที่ 3 ภาษาระดับสูง (High-Level Languages) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ซึ่งภาษาระดับต่ำและระดับสูง จะต้องมีตัวแปลภาษา (Translator) ช่วยในการแปลภาษา เช่น Assemble Cobol BASIC Pascal
               ยุคที่ 4 ภาษาระดับสูงมาก (Very-High-Level Languages) เป็นภาษาโปรแกรมที่เข้าใจง่ายและใช้คำสั่งสั้น
เช่น RPG (Report Program Generator) , 4GL (Forth – Generation Language)
               ยุคที่ 5 ภาษายุคที่ 5 (Fifth Generation of Programming Language) มีลักษณะคือ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Export Systems) ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลความรู้และประสบการณ์ของผู้เชียวชาญ
ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) ใช้ภาษามนุษย์ในการติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีปัญหาทางด้านการประมวลผลคำ และคำสั่งอยู่
ภาษาเชิงวัตถุ (Object- Oriented Languages) เป็นการปฏิบัติการด้านความคิดเป็นการเปลี่ยนวิธีการพิจารณาการทำงานของมนุษย์จากเดิมที่เน้นด้านกระบวนการ ไปเน้นที่ตัววัตถุที่ถูกดำเนินการแทน
ภาษาสำหรับประมวลผลแบบขนาน (Paralleled Processing Languages) ประกอบด้วยงานย่อย ๆ ซึ่งสามารถทำงานบนหน่วยประมวลผลกลาง ได้พร้อมกัน

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานที่สามารถจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ทางคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices), หน่วยประมวลผล (Processor) และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output devices)
1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1.1 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับชี้ตำแหน่ง ควบคุม และย้ายตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถเลือกภาพ หรือข้อความได้โดยการคลิกเมาส์
56838
1.2 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ช่องว่าง รวมไปถึงคีย์ลัดเพื่ออำนวยความสะดวก
56841
1.3 ปากกาสไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ลักษณะคล้ายกับปากกาลูกลื่น แต่เป็นปากกาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) ของเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ปาล์มคอมพิวเตอร์ เครื่องพีดีเอ
56843
1.4 เครื่องสแกนเนอร์หรือสแกนภาพ (Image Scanners) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สำหรับสแกนภาพ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยสแกนเนอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สแกนเนอร์แบบมือถือ และสแกนเนอร์แบบแท่นนอน
5685556856
1.5 กล้องดิจิตอล (Digital Cameras) กล้องดิจิตอลมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม แตกต่างกันตรงที่กล้องดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิล์ม สามารถเก็บบันทึกภาพได้จำนวนมาก สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ระยะเวลาในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวยังไม่มากเท่าที่ควร กล้องดิจิตอลสะดวกในการใช้งานจึงทำให้ปัจจุบันผู้คนหันมาใช้กล้องดิจิตอลกันมากขึ้น
56860

ความหมายของระบบสารสนเทศ


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
1.1เทคโนโลยี หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่างๆ
1.2สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่ได้รับจากข้อมูลดิบจากแหล่งต่างๆนำมาคำนวณทางสถิติหรือผ่ายกระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเรียกว่า "สารสนเทศ" ข้อมูลที่ได้ออกมาจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
1.3เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาสัยเครื่องทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ ตั้งแต่การเก็บรวบนวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีหลักที่สำคัญ 2 สาขา คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการแสวงหาการจัดเก็บ และการเผยแพร่แลกเปลี่ยนสารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ตัวเลข ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว ให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ดังรายละเอียดดังนี้
สาขา 1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเก็บบันทึกข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการ
สาขา 2 เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารและโทรคมนาคม ช่วยทำให้การเผยแพร่และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศง่ายมากยิ่งขึ้น สามารถกระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วนและทันเหตุการณ์ เมื่อเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าขึ้น การนำระบบสื่อสาร

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผลหน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผลหน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคตซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้นแผนภาพแสดงกระบวนการจัดการระบบสารสนเทศplot.jpg
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
         
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมplot2.jpg


นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ 1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)